ไขความลับความเหมือน ใน ความแตกต่าง Adverb Adjective

ไขความลับความเหมือน ใน ความแตกต่าง Adverb Adjective

แม้ใครบางคนจะว่าภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิด แต่บางเรื่องก็เล่นเอางงอยู่เหมือนกัน ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่กวนใจเหล่าคนเรียนภาษาคงไม่พ้นเรื่อง Adjectives และ Adverbs เพราะบางคำมีหน้าตาเหมือนกัน แต่บางคำก็ใช้ไม่เหมือนกัน แล้วสรุปสองอย่างนี้ใช้ยังไงนะ? เพื่อการนี้ เราเลยจะมาไขความลับ ความเหมือน ใน ความแตกต่าง Adverb Adjective ฉบับเข้าใจง่าย บอกทริคให้รู้กันไปเลยว่า คำทั้งสองประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วก็มาไขความลับไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

 

1. ความหมายของ Adjective = คำคุณศัพท์ Adverb = คำกริยาวิเศษณ์

อย่างแรกเราจะพาเพื่อน ๆ มารู้จักประเภทของคำกันก่อนว่า Adjective และ Adverb คืออะไร

ตัวแรกก็คือ Adjective = คำคุณศัพท์ ซึ่งเป็นประเภทคำที่ทำหน้าที่ขยายนาม (noun) หรือเติมความหมายให้กับนามนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของและสถานที่ เพื่อบ่งบอกลักษณะให้เราเห็นภาพของนามได้อย่างชัดเจนมากขึ้น แถมบางครั้งยังเติมเต็มประโยคเพื่อบอกความรู้สึกของประธานอีกด้วย

ส่วน Adverb = คำกริยาวิเศษณ์ คือคำทำหน้าที่ขยาย Verb (คำกริยา) Adjective (คำคุณศัพท์) หรือแม้แต่ Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) ด้วยกันเอง บอกเลยว่า เจ้า Adverbs เป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิดและสับสนกันบ่อยครั้ง แต่จะงงอย่างไรมาอ่านกันต่อเลย

 

2. หน้าตาของ Adjectives และ Adverbs

เมื่อเราจะรู้ประเภทคำทั้งสองอย่างชัดเจนแล้วก็มาส่องหน้าตา ความแตกต่าง Adverb Adjective กันต่อเลยดีกว่า

2.1 Adjectives

หลักการสังเกตคำ Adjectives แบบง่าย ๆ คือ การสังเกต Suffix หรือส่วนที่นำมาเติมเต็มด้านหลังของศัพท์ เพื่อให้ประเภทของคำเป็น Adjectives ซึ่งประกอบไปด้วย -able, -al, -ful, -ian, -ive, -less, -ous เป็นต้น

-able

readable (อ่านได้), drinkable (ดื่มได้), washable (ซักได้), suitable (เหมาะสม), knowledgeable (มีความรู้)

-al

developmental (พัฒนาการ), informal (ไม่เป็นทางการ), political (ทางการเมือง), seasonal (ตามฤดูกาล), original (ดั้งเดิม), national (ระดับชาติ)

-ful

joyful (เปี่ยมความสุข), cheerful (ร่าเริง), meaningful (มีความหมาย), powerful (เปี่ยมด้วยพลัง), wonderful (วิเศษ), beautiful (สวย)

-ian

Malayasian (ชาวมาเลเซีย), Canadian (ชาวแคนาดา), Indian (ชาวอินเดีย), Australian (ชาวออสเตรเลีย)

-ive

effective (ที่มีประสิทธิภาพ), imaginative (ที่มีจินตนาการ, เพ้อฝัน), aggressive (ก้าวร้าว), persuasive (สามารถชักจูงได้), repetitive (ซึ่งเกิดซ้ำ ๆ), attractive (น่าดึงดูดใจ)

-less

meaningless (ไร้ซึ่งความหมาย), useless (ไร้ประโยชน์), homeless (ไร้บ้าน), worthless (ไร้ค่า), hopeless (สิ้นหวัง), effortless (ไร้ความพยายาม)

-ous

delicious (อร่อย), famous (ที่มีชื่อเสียง), dangerous (อันตราย), enormous (ใหญ่โตมโหฬาร), generous (ใจกว้าง)

 

Adjectives บางตัวก็มาจากคำกริยา (Verb) ที่เติม -ed และ -ing ด้วย โดยส่วนใหญ่จะเน้นความรู้สึกของประธาน

เช่น surprised (รู้สึกประหลาดใจ) surprising (น่าประหลาดใจ) / interested (รู้สึกสนใจ) interesting (น่าสนใจ) / disappointed (รู้สึกผิดหวัง) disappointing (น่าผิดหวัง) รวมไปถึงคำกริยาช่องที่ 3 ไม่ว่าจะเป็น broken (แตกหัก), stolen (ที่ถูกขโมยไป), unknown (ที่ไม่เป็นที่รู้จัก) เป็นต้น

แต่ไม่ใช่เพียงแค่นี้ เพราะจริง ๆ แล้ว Adjective ยังมีหน้าตาอื่น ๆ อีกมากมายให้เราได้ศึกษากันดู เช่น bad (แย่), kind (มีเมตตา), thin (ผอม), fat (อ้วน), light (สว่าง), dark (มืด), short (สั้น, เตี้ย), tall (สูง), long (ยาว), enough (เพียงพอ), better (ดีกว่า), important (สำคัญ), clear (ชัดเจน), full (เต็ม, อิ่ม), strong (แข็งแรง), weak (อ่อนแอ) เป็นต้น

 

2.2 Adverbs

มาถึง Adverbs กันแล้ว หากดูตำราทั่วไปก็จะสังเกตได้ว่า Adverbs จะลงท้ายด้วย -ly อยู่เสมอ โดยให้ความหมายว่าอย่าง …… เช่น bravely (อย่างกล้าหาญ), beautifully (อย่างงดงาม), correctly (อย่างถูกต้อง), certainly (อย่างแน่นอน), carefully (อย่างระมัดระวัง) truly (อย่างแท้จริง) very (มาก) และอื่น ๆ อีกเพียบ

แต่อย่าเพิ่งวางใจไป เพราะ Adjective บางตัวก็ลงท้ายด้วย -ly เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น elderly (ผู้สูงวัย, ชรา), daily (ประจำวัน), friendly (เป็นมิตร) เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อความแน่ใจ เพื่อน ๆ ต้องหมั่นเช็กกับ Dictionary กันอยู่เสมอนะ

นอกจากนี้ Adjectives และ Adverbs บางตัวยังสามารถใช้รูปเดียวกันได้ เพียงแต่อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เช่น fast (เร็ว, อย่างรวดเร็ว), little (เล็กน้อย), far (ไกล), near (ใกล้), enough (เพียงพอ), more (มากกว่า), most (มากที่สุด) เป็นต้น

รายละเอียดคอร์สเรียน

 

3. ตำแหน่งในการวาง Adjectives และ Adverbs

3.1 ตำแหน่งในการวาง Adjectives

สำหรับ Adjective เป็นคำที่สามารถวางได้สองตำแหน่งคือ วางข้างหน้านาม (Adj + N) ที่ต้องการขยายและวางไว้หลัง V to be (is, am, are, was, were, been) เพื่อบอกลักษณะประธานหรือเพื่อบอกความรู้สึกของประธานนั่นเอง

ตัวอย่าง

  • The dog’s tail is long. = หางของสุนัขตัวนี้ยาวจัง
  • We are angry with our business partner. = เราโกรธหุ้นส่วนธุรกิจของเรา
  • The broken glass cannot be fixed. = แก้วที่แตกไปแล้วไม่มีทางต่อได้
  • I am surprised with her marriage. = ฉันรู้สึกประหลาดใจกับงานแต่งของเธอ

 

3.2 ตำแหน่งในการวาง Adverbs

ส่วน Adverbs ก็สามารถวางได้หลายตำแหน่งในประโยคเพื่อขยายกริยาของประธาน ขยายคำคุณศัพท์หรือขยายคำประเภทเดียวด้วยกันเอง ถ้าอ่านแล้วงงไปดูคำอธิบายกันเลยดีกว่า

          1) วางนำหน้าประโยคหรือท้ายประโยค เพื่อดึงความสนใจของผู้ฟังหรือผู้อ่าน

Thankfully, the roads were free of snow and ice in that trip. = โชคดีที่ถนนไม่มีหิมะและน้ำแข็งในทริปนั้น

          2) ขยาย Verb ด้วยการวางไว้หลัง Verb

Why do you always have to eat slowly? = ทำไมคุณถึงต้องกินช้าตลอดเลย

He sings beautifully. How does he sing? = เขาร้องเพลงเพราะมาก เขาทำได้ยังไงกัน

          3) วางหลัง V to be เพื่อขยาย Adjective หรือ Verb

The village was totally destroyed by the flood. = หมู่บ้านถูกทำลายราบคาบโดยอุทกภัย

My mother is extremely frightened because she saw a ghost last night. = แม่ของฉันกลัวมาก เพราะเธอเห็นผีเมื่อคืนนี้

          4) คำเฉพาะอย่าง well, badly, hard, fast ต้องวางจบท้ายประโยคเสมอ

This football team played well. = ทีมฟุตบอลทีมนี้เล่นดีเลยทีเดียว

The students tried so hard for this examination. = นักเรียนพยายามอย่างหนักเพื่อการสอบในครั้งนี้

          5) ถ้ามี Verb หลายตัว จะต้องดูตำแหน่งให้ดี เพราะตำแหน่งสามารถเปลี่ยนความหมายของประโยคได้ *ถ้าวางหน้าหรือหลัง Verb จะขยาย Verb แต่ถ้าวางไว้ท้ายประโยคจะขยายประโยคทั้งหมด

They slowly decided to leave the wedding. = พวกเขาค่อย ๆ ตัดสินใจที่จะออกจากงานแต่งกัน (ขยาย Verb คำว่า decided)

She decided to leave the wedding slowly. = พวกเขาตัดสินใจที่จะออกจากงานแต่งกันอย่างช้า ๆ (ขยาย Verb คำว่า leave wedding)

 

เห็นไหมว่าเรื่อง ความแตกต่าง Adverb Adjective นี้เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไป เพียงแต่เราต้องอาศัยความรู้ด้านคำศัพท์ในการแยกแยะประเภทคำให้ออก ผนวกกับการที่ได้ใช้ในการวางตำแหน่งและการผสมคำให้คล่องกันไป ถ้าได้ฝึกฝน ได้พูด ฟัง อ่านและเขียนบ่อย ๆ ก็จะเข้าใจได้เอง รวมถึงการเสริมความรู้ผ่านเว็บไซต์ เรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัวแบบออนไลน์ ดังนั้นเรามาพยายามด้วยกันนะ เพราะเรื่องนี้สามารถเอาไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ลองไปฝึกและทำความเข้าใจกันดูนะ!

ทางสถาบันของเรา Engduo Thailand มีคอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสื่อสาร การสัมภาษณ์งาน หรือการสอบ IELTS สามารถเข้าไปดูรายละเอียดในเว็บไซต์ได้เลยครับ

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม

Engduo Thailand

คอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ตัวต่อตัว พูดได้ชัวร์ ใช้ได้จริง

Engduo Thailand

ค้นหาคอร์สเรียนที่เหมาะกับคุณ ติดต่อเราเลย

FB: Engduo Thailand

Messenger

Line: @engduo

Tel: 0988268961

ที่มาข้อมูล

  • https://www.bbc.co.uk/worldservice/learningenglish/flatmates/episode75/languagepoint.shtml
  • http://grammarlearn.com/การใช้-adjective-คำคุณศัพท์.html
  • https://www.kroobannok.com/706

บทความของเรา

ดูบทความทั้งหมด