คำนาม (noun) ในภาษาอังกฤษแบ่งเป็นสองประเภทคือนามนับได้และนามนับไม่ได้ ซึ่งคำนามนับได้ยังแบ่งเป็นคำนามเอกพจน์ (singular noun) และคำนามพหูพจน์ (plural noun) ซึ่งการทำคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์นี่แหละคือสิ่งที่คนเรียนภาษาอังกฤษทุกคนได้เรียนมาตั้งแต่ต้นเพราะเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่หลายคนก็ยังสับสนกันอยู่ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Plural nouns นี้กันให้มากขึ้น
Plural Nouns รูปปกติที่เติม -s หรือ -es
นี่คือรูปคำนามพหูพจน์ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด โดยที่เราจะพูดถึงกันในหัวข้อนี้คือการเติม -s หรือ -es โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำหรือเพิ่มตัวอักษรใด ๆ เข้าไป สามารถสรุปประเภทย่อยของคำนามพหูพจน์ที่เข้ากลุ่มในหัวข้อนี้ได้ดังนี้
- คำนามทั่วไปที่เติม -s ท้ายคำได้ทันที เป็นรูปพหูพจน์ที่พบมากที่สุด เช่น
– a cat – 2 cats (แมว)
– a girl – 2 girls (เด็กผู้หญิง)
– a house – 2 houses (บ้าน)
- หากคำนามลงท้ายด้วย –s -ss –x –z หรือกลุ่มพยัญชนะเช่น –sh หรือ –ch เราทำให้เป็นพหูพจน์ได้โดยการเติม –es เช่น
– a watch – 2 watches (นาฬิกา)
– a glass – 2 glasses (แก้วน้ำ)
– a dish – 2 dishes (จาน)
– a box – 2 boxes (กล่อง)
- คำนามที่ลงท้ายด้วย -o ให้เติม -es เช่น
– a potato – 2 potatoes (มันฝรั่ง)
– a tomato – 2 tomatoes (มะเขือเทศ)
อย่างไรก็ตาม กฎข้อนี้จะยกเว้นกับบางคำเช่น photo และ piano ซึ่งสามารถเติม -s เข้าไปกลายเป็น photos และ pianos ได้เลย
- คำนามที่ลงท้ายด้วย -y หากหน้า y เป็นสระ ให้เติม -s เข้าไปได้เลย (ขอให้เทียบกฎข้อนี้กับกฎข้อแรกในหัวข้อถัดไปเมื่อหน้า y เป็นพยัญชนะ) เช่น
– a toy – 2 toys (ของเล่น)
– a boy – 2 boys (เด็กผู้ชาย)
Plural Nouns รูปที่ไม่ปกติ มีแบบไหนบ้าง
คำว่า “รูปที่ไม่ปกติ” ในที่นี้เราหมายถึงในสองกรณีคือการเติม -s หรือ -es โดยต้องเปลี่ยนตัวอักษรท้ายคำไปจากเดิม และอีกประเภทคือคำนามพหูพจน์ที่เปลี่ยนรูปไปจากเดิม (ไม่ได้เติม -s หรือ – es) ซึ่งประเภทหลังจะไม่มีกฎตายตัว ต้องอาศัยการจำหรือเช็กจากพจนานุกรมเท่านั้น แยกประเภทของกฎต่าง ๆ ได้ดังนี้
- คำที่ลงท้ายด้วย -y หากหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม -es เช่น
– a city – 2 cities (เมือง)
– a vocabulary – 2 vocabularies (คำศัพท์)
- คำนามที่ลงท้ายด้วย -f และ -fe ให้เปลี่ยน f เป็น v แล้วเติม -s หรือ -es เช่น
– leaf – leaves (ใบไม้)
– a knife – 2 knives (มีด)
อย่างไรก็ตาม บางคำเช่น roof ก็ไม่ต้องเปลี่ยน -f ท้ายคำโดยเติม -s เข้าไปได้เลย ซึ่งก็เป็นคำยกเว้นในกฎข้อนี้
- พหูพจน์ที่เปลี่ยนรูปเฉพาะตัวอักษรท้ายคำ
โดยท้ายคำจะไม่ได้เป็น -s หรือ -es จุดนี้จำเป็นต้องอาศัยการสังเกตเมื่ออ่านเจอหรือเช็กจากพจนานุกรมเพื่อความแน่ใจ เพราะแม้ว่าบางคำจะมีกฎระบุไว้ แต่คำในกลุ่มนั้นก็ไม่ใช่คำที่เราพบบ่อย คำที่เข้าข่ายลักษณะนี้ เช่น
– phenomenon – phenomena (ปรากฏการณ์)
– a cactus – 2 cacti (กระบองเพชร)
- พหูพจน์ที่เปลี่ยนรูปคำไปจากเดิม
โดยไม่ได้เปลี่ยนแค่ตัวอักษรท้ายคำแบบตัวอย่างในข้อที่ผ่านมา เช่น
– a man / a woman – 2 men / 2 women (ผู้ชาย / ผู้หญิง)
– a child – 2 children (เด็ก, ลูก)
– a person – 2 people (คน) อย่างไรก็ตาม persons ก็มีใช้บ้างเหมือนกัน เพียงแต่จะพบเฉพาะในเอกสารราชการหรือการพูดถึงบุคคลตามกฎหมายเท่านั้น โดยทั่วไปถ้าพูดถึงคนหลายคน ก็จะใช้ people เช่น
There are 20 people in the class.
(ชั้นเรียนนี้มี 20 คน)
- คำนามที่ไม่เปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์
เช่น fish (ปลา) deer (กวาง) abacus (ลูกคิด)
ความสัมพันธ์ของ Plural nouns กับ Verb form
ความสัมพันธ์ที่เรากำลังจะพูดถึงคือเรื่อง subject-verb agreement โดยมีหลักการง่าย ๆ ว่าเมื่อคำนามอยู่ในรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์ คำกริยา (Verb) จะต้องสะท้อนความเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ตามไปด้วย ขอให้ลองสังเกต 4 ตัวอย่างต่อไปนี้ โดยสังเกตจากคำกริยา “live” และ “verb to be” ในประโยค และพิจารณาประธานของประโยคที่ต่างกัน
– My parents live in Bangkok.
(พ่อแม่ของฉันอยู่กรุงเทพฯ)
– My younger brother lives in Chiang Mai.
(น้องชายของฉันอยู่ที่เชียงใหม่)
– this story is well-written.
(เรื่องนี้เขียนได้ดี)
– These stories are well-written.
(เรื่องราวเหล่านี้เขียนได้ดี)
สำหรับเรื่องที่จะมีผลโดยตรงกับคำนามเอกพจน์และพหูพจน์คือคำกริยาเมื่ออยู่ในรูป Present Tense ไม่ว่าจะเป็น Verb to be รวมถึงคำกริยาอื่น (เช่น live ที่เติม -s ในประโยคที่สอง) ซึ่งเมื่อมีผลกับคำกริยาใน Present Tense ก็ต้องมีผลกับ Tense อื่นด้วย เช่น เลือกระหว่าง was หรือ were ใน Past Tense การเลือกระหว่าง has หรือ have ใน Present Perfect Tense รวมถึงยังมีผลกับการเลือกใช้คำกริยาในประโยคคำถามและปฏิเสธด้วย เช่น
– Does your brother / do your parents live in Bangkok?
(พี่ชายของคุณ / พ่อแม่ของคุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ หรือเปล่า)
– This story isn’t / These stories aren’t well-written.
(เรื่องนี้ / เรื่องราวเหล่านี้เขียนได้ไม่ดีนัก)
กฎและคำตัวอย่างที่ยกมาให้ในวันนี้ เป็นเพียงภาพคร่าว ๆ ให้เห็นว่าคำนามพหูพจน์หรือ Plural nouns ในภาษาอังกฤษใช้อย่างไรเท่านั้น ความจริงแล้วกฎส่วนใหญ่มีข้อยกเว้น ซึ่งการฝึกฝนหรือทำความคุ้นเคยกับคำศัพท์มาก ๆ ไม่ว่าจะจากการฟังหรืออ่านสามารถช่วยได้ หรือแม้แต่การเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมก็ช่วยได้เช่นกัน แล้วมาติดตามบทความดี ๆ แบบนี้กันอีกจาก สถาบันสอนภาษาอังกฤษ Engduo Thailand
และเมื่ออ่านบทความที่ Engduo Thailand แล้วอยากเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ Engduo Thailand ก็สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลย เพราะที่นีมีการเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว แถมยังมีคอร์สเรียนภาษาอังกฤษให้เลือกเรียนอย่างมากมาย ทั้งเพื่อการสื่อสาร, สำหรับเด็ก, สำหรับสัมภาษณ์งาน รวมไปถึงการเตรียมตัวสอบ IELTS ก็มีเช่นกัน