หลักการเติม s และ es หลังกริยา

หลักการเติม s และ es หลัง verb

เพื่อนๆกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมว่าทำไมเราต้องเติม s และ es หลังกริยาด้วยวันนี้ แอดมินจากเพจ Engduo Thailand จะมาไขข้อสงสัยกันว่าทำไมถึงต้องเติม s และ es หลังกริยา ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนว่า

Photograph: Grammar Monster

นามทั้งหมดมี 2 ประเภทได้แก่ นามที่นับได้(countable noun) และ และนามที่นับไม่ได้(uncountable noun) เรามาดูกันว่านามทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

นามนับได้

นามนับได้ (countable noun)  คือ

คำนามที่นับได้ ก็คือเราสามารถนับได้จริงๆ นับเป็นชิ้นๆ อันๆ มองเห็นได้ชัดเจน เช่น apple นี่ก็เป็นนามนับได้ เพราะเราเห็นเป็นผลหนึ่งผลเลย pen ก็นับได้เพราะเราเห็นเป็นแท่งๆ

นามนับไม่ได้

นามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือ

คำนามที่เราไม่รู้จะนับยังไงเพราะเรามองไม่เห็นความชัดเจนจากมันเช่น water – เพราะมันเป็นของเหลว เรานับไม่ได้แน่นอน เราจะนับได้ก็ต่อเมื่อมันอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์เช่น A bottle of water – นำ 1 ขวด นอกจากนั้นนามนับได้จะมีพวกนามธรรมที่เรามองไม่เห็นเช่น honesty (ความซื่อสัตย์) ที่เราไม่รู้ว่ามันหน้าตาเป็นยังไง

หากนักเรียนเข้าใจเรื่องคำนามนับได้ – ไม่ได้แล้ว ทีนี้เราก็จะมาแต่งประโยคกัน ในภาษาไทยนั้น ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไร เราก็ใช้กริยาเหมือนกันหมดเช่น

  • ฉันกิน
  • เขากิน
  • หล่อนกิน

เราใช้คำว่า “กิน” หมดเลยในภาษาไทย แต่!!!! มันไม่ใช่แบบนี้กับภาษาอังกฤษ ถ้าเหตุการณ์ที่เราจะพูด มันเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออะไรก็ได้ที่มันเป็นความจริง เป็นนิสัย กิจวัตรต่างๆ เราจะใช้ tense ที่เรียกว่า “Present Simple Tense” ก็คือ ใส่ประธาน + กริยาช่อง 1 ไปเลย

ความงงของคนไทยคือ แล้วทำไมบางทีกริยาต้องเติม s ด้วยหล่ะ!!
คือกฏมันมีแบบนี้ครับนักเรียน ไม่ต้องเครียดไป
ก่อนจะเริ่มกันเรามาทบทวนความรู้กันหน่อย

ทบทวนความรู้

คำกริยารูป เอกพจน์ ได้แก่ is, does, has, คำกริยารูปที่ เติม s/es
คำกริยารูป พหูพจน์ ได้แก่ are, do, have, คำกริยารูปที่ ไม่ได้เติม s/es

ใน present simple tense เราจะใช้คำกริยารูปเอกพจน์ กับคำนามเอกพจน์ เช่น

  • Tim walks to school every day.

และจะใช้คำกริยารูปพหูพจน์ กับคำนามพหูพจน์ เช่น

  • My friends walk to school every day

ถ้าประธานมี 1 คน(เรียกว่า ประธานเอกพจน์)นะครับนักเรียน (1 คน/สิ่งเท่านั้นนะครับ) เราจะต้องเอากริยามาเติม s/ es เช่น

  • Aof loves to eat Thai food. – ออฟชอบกินอาหารไทย ไม่ใช่
  • Jane love to eat Thai food. ตรงนี้ผิด เพราะ love ไม่เติม s

หรือถ้าเป็น verb to be เราก็จะใช้ is/was นะครับ
หรือถ้าเป็น verb to have เราจะใช้ has นะครับ

  • John is happy because he works out every day.
  • Jimmy has a lot of money so he goes shopping every week.
  • The baby is crying now.
  • My cat has been sick for four days.
รายละเอียดคอร์สเรียน

หลักการเติม s/es ก็คือ

1. เติม s หลังคำกริยาได้ทั่วๆไปเลย

  • eat eats
  • walk walks
  • stay stays

2. ถ้าคำกริยาลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z และ o เราต้องเติม es หลังกริยานั้นๆ

  • miss misses
  • wish wishes
  • watch watches
  • fix fixes
  • buzz buzzes
  • go goes

ประเด็นคือ ให้เราฝึกฟอร์มประโยคบ่อยๆ เพราะเวลาใช้จริงๆ จะได้ไม่ลืม!

  • Tom goes to school every day.
  • Jack cooks dinner for his wife twice a week.
  • She has to work every Sunday.

Engduo Thailand

คอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ตัวต่อตัว พูดได้ชัวร์ ใช้ได้จริง

ถ้าประธานมีมากกว่า 1 คน (นามพหูพจน์) รวมถึง you ด้วยนะครับเราไม่ต้องเติม s ที่กริยานะครับ ปล่อยมันไปเลยครับ เช่น

  • Jack and Tom want to eat out tonight.
    แจ็คและทอมอยากออกไปทานข้าวข้างนอกคืนนี้
  • We have to study hard.
    พวกเราต้องเรียนให้หนักๆ

ถ้าเป็น verb to be เราก็จะใช้ are/were นะครับ
ถ้าเป็น verb to have เราจะใช้ have นะครับ

คำที่ไม่เข้าพวกหน่อยก็คือ “I” นี่แหละครับ
“I” (ฉัน) ดูเหมือนว่าจะมีคนเดียว เอ๊ะเติม s ที่กริยาป่าวนะ?
“I” ให้ใช้กริยาที่ไม่เติม s นะครับ เช่น

  • I drive my car to work every day.
  • I have a lot of friends.

ข้อควรระวัง

อย่าสับสนระหว่างพจน์ของคำนามและพจน์ของคำกริยา
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่ไม่ได้เติม s/es อย่างเช่น student, cat, table
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่เติม s/es อย่างเช่น students, cats, tables

สรุป

คำกริยาเอกพจน์ คือคำกริยาที่เติม s/es อย่างเช่น eats, walks, goes
คำกริยาพหูพจน์ คือคำกริยาที่ไม่ได้เติม s/es อย่างเช่น eat, walk, go

เวลาใช้ เราจะต้องใช้คำนามเอกพจน์ กับคำกริยาเอกพจน์ และใช้คำนามพหูพจน์กับคำกริยาพหูพจน์ หรือถ้าจะจำแบบง่ายๆก็คือ เราจะเติม s/es คำนามและคำกริยาสลับกัน ถ้าคำนามเติม s/es คำกริยาก็ไม่ต้องเติม แต่ถ้าคำนามไม่ได้เติม s/es คำกริยาก็จะต้องเติม แทน ยกตัวอย่างเช่น

  • My cat eats very fast. (แมวของฉันกินเร็วมาก)
  • My cats eat very fast. (บรรดาแมวๆของฉันนั้นกินเร็วมาก)

(จริงๆแล้ว คำนามพหูพจน์บางคำก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย s/es หลักการนี้ใช้เพื่อให้จำได้ง่ายเท่านั้น)

อย่าลืมนะครับ การเรียนภาษาอังกฤษยิ่งฝึกฝนยิ่งหัดพูด อ่าน ฟัง และ เขียนทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ไวขึ้น แอดมินหวังว่าบทความนี้จะช่วยเพื่อนๆได้ไม่มากก็น้อย แรกๆในการฝึกอาจจะไม่ชินและอาจจะลืมเติม s ได้ แต่ต้องฝึกต่อไปเรื่อยๆนะครับ ทำไปเรื่อยๆ ให้มันเป็นนิสัย สุดท้ายมันจะได้เองครับ ทางสถาบัน Engduo Thailand มีคอร์สเรียนออนไลน์มากมาย เพื่อช่วยในการสัมภาษณ์งาน หรือช่วยฝึกการสื่อสาร ยังไงขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม

บทความของเรา

ดูบทความทั้งหมด